Agaminae and sub family


กิ้งก่าในกลุ่ม Agamidae ในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 31 ชนิด โดยยังไม่รวมชนิดที่อยู่ในระหว่างการบรรยายชนิด หรือ ชนิดที่มีรายงานใหม่ในไทย สามารถพบได้ในพื้นที่อาศัยหลายแบบเช่น ป่าดิบชื้น ป่าดิบเขาที่ความสูงระดับ 1000 ขึ้นไป ป่าดิบแล้ง และ แม้แต่พื้นที่เกษตรกรรม ก็สามารถเจอได้บางชนิด


กิ้งก่าทุกชนิดเป็นสัตว์กินเนื้อ อาหารหลักของมัน คือ แมลง และ กิ้งก่าขนาดใหญ่บางชนิด ยังกินสัตว์ขนาดเล็กอื่นๆได้ รวมถึงกิ้งก่าด้วยกันเอง นอกจากกินแมลง บางชนิดยังต้องการอาหารประเภทพืชเสริม เช่น ผลไม้บางชนิด วัชพืชคลุมดิน กิ้งก่าพวกนี้ได้แก่ ตะกอง แย้


การเอาตัวรอดในธรรมชาติเป็นสิ่งสำคัญ กิ้งก่าทุกชนิดในกลุ่มนี้สามารถพรางตัวเข้ากับที่อยู่อาศัยได้เป็นอย่างดี นอกจากการพรางตัว การสลัดหางทิ้งในยามที่ผู้ล่าจับมันได้ ถือว่าเป็นการเอาตัวรอดที่ดี นอกจากการวิ่งหนีหลบนักล่า กิ้งก่าบางชนิด จะวิ่งหนีลงรู หรือ โดดลงน้ำทันทีเมื่อรู้สึกว่าไม่ปลอดภัย

















กิ้งก่าในกลุ่ม กิ้งก่าบิน ใช้แผ่นหนังขนาดใหญ่ข้างตัว กางออก เวลาที่มันโดดจากต้นไม้ต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่ง เหมือนเป็นการร่อน เพื่อหนีผู้ล่า และ ตัวผู้ตัวอื่น ที่ปกครองต้นไม้ต้นนั้นอยู่


แย้ ไม่ใช่กลุ่ม Agamidae แต่เป็นกลุ่มย่อยแยกออกมา คือ Leiolepinae พวกมันอาศัยในพื้นที่แห้งแล้ง ชายขอบป่า อาศํยในรูใต้ดิน และมีการเลี้ยงดูลูกอ่อนจนถึงวัยที่ปล่อยให้หากินเองได้ แย้บางชนิดสืบพันธุ์ได้โดยไม่ต้องอาศัยเพศ (Pathenogenic) อีกด้วย



เว๊บบล๊อกนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นสำหรับผู้ที่สนใจสัตว์กลุ่มนี้ หากผิดพลาดมายังไงต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย



Mr.prutodang

Leiolepis triploida

แย้ตรัง , แย้มลายู

Leiolepis triploida PETERS, 1971

Leiolepis reevesii

แย้อิสาน

Leiolepis reevesii GRAY , 1831
แย้ขนาดใหญ่ ลักษณะคล้ายกับแย้ผีเสื้อ แต่ลายตามตัวมีลักษณะเป็นเส้นลากยาวไป กับลายร่างแห แถบสีข้าง มีลายสีดำสลับเหลืองแล้วขาดไปเป็นสีแดงสด ขามีลายร่างแห ลูกวัยอ่อนมีลายเป็นขีดเหมือนตัวเต็มวัย พบอาศัยในป่าดิบแล้งและทุ่งหญ้า ทางภาคตะวันออก ภาคอิสาน อาศัยในโพรงใต้ดิน ออกมาหากินช่วงสายหรือกลางวัน กินแมลงเล็กๆ และ พืชหน้าดินบางชนิด ไข่ครั้งละ 3-8 ฟอง ตัวเมียคอยดูแลลูกเล็กจนกระทั่งช่วงหนึ่ง จึงปล่อยให้แยกย้ายไปหากินเอง

ลักษณะลายที่ตัว และโครงหน้าของแย้ตัวเมีย




Leiolepis boehmei

แย้สงขลา

Leiolepis boehmei DAREVSKY & KUPRIYANOVA , 1993

Leiolepis belliana

แย้ผีเสื้อ, แย้ธรรมดา

Leiolepis belliana HARDWICKE & GRAY, 1827

Salea kakhienensis

กิ้งก่าเขาสูงพม่า

Salea kakhiensis ANDERSON, 1879

Pseudocalotes khaonanensis

กิ้งก่าเขานัน

Pseudocalotes khaonanensis CHAN-ARD, COTA, MAKCHAI & LAOTEOW , 2008

Pseudocalotes cf. microlepis

กิ้งก่าเขาสูง(เกล็ดใหญ่)

Pseudocalotes cf. microlepis

Pseudocalotes microlepis



กิ้งก่าเขาสูง

Pseudocalotes microlepis BOULENGER , 1888

กิ้งก่าขนาดเล็ก ส่วนหัวมีลักษณะยาวคล้ายกับกิ้งก่าในสกุล Bronchocela แต่ต่างกันตรงไม่มีเกล็ดเป็นสันบริเวณเหนือแผ่นหู และขายาวกว่า กิ้งก่าชนิดนี้มีขาค่อนข้างสั้น หางยาวและปลายหางม้วนงอได้ จึงทรงตัวได้ดีบนต้นไม้มากกว่าบนพื้น เวลาเคลื่อนที่จะใช้ขาไต่ไปตามกิ่งไม้และใช้หางม้วนไว้ด้วย เหนียงมีสีเขียวและมีจุดสีม่วงแดงสดตรงกลาง ตัวผู้มีสีดำลายพาดสีครีมสลับเป็นบั้ง กินแมลงขนาดเล็กตามกิ่งไม้ เถาวัลย์ เช่น หนอน ผีเสื้อ ด้วงปีกแข็งขนาดเล็ก พบเห็นตัวค่อนข้างยาก เพราะมีขนาดเล็กและเกาะนอนค่อนข้างสูง อาศัยในป่าดิบเขาที่ความสูงระดับ 1000 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป พบทางภาคเหนือ อิสานตอนบน



















ด้านบนและหัวถึงหางของกิ้งก่าตัวผู้เต็มวัย

Physignathus cocincinus


ตะกอง , ลั้ง
Physignathus cocincinus CUVIER , 1829

กิ้งก่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของไทย ลำตัวสีเขียวแก่ หรือ เขียวสด ตะกองวัยรุ่นมีลายบั้งจางๆสีขาวตามตัว และจะหายไปเมื่อโตขึ้น เหนียงมีสีชมพูอ่อน หางมีลายบั้งสลับ พบอาศัยในป่าดิบชื้น ใกล้น้ำตก หรือ ลำธาร อาจพบได้บ้างตามสวนผลไม้ สวนยาง ใกล้ป่า เมื่อตกใจตะกองจะรีบวิ่งหาที่ซ๋อน หรือลงน้ำและลงไปหลบอยู๋ใต้น้ำได้นานหลายนาที ออกหากินกลางวัน กินทั้งพืชและสัตว์ เช่น แมลง ปลา กบเล็กๆ ผลไม้ที่ร่วงตามต้น(มะละกอ) วางไข่ครั้งละ 10-12 ฟอง พบได้ทางภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคอิสาน และภาคตะวันตก













Mantheyus phuwuanensis

กิ้งก่าภูวัว

Mantheyus phuwuanensis MANTHEY & NABHITABHATA , 1991

Japalura sp.

กิ้งก่าดอยลาง

Japalura sp.

Gonocephalus bellii

กิ้งก่าดงเบล

Gonocephalus bellii DUMÉRIL & BIBRON, 1837

Gonocephalus grandis

กิ้งก่าดงใหญ่

Gonocephalus grandis GRAY, 1845

Gonocephalus doriae

กิ้งก่าดงคิ้วสัน

Gonocephalus doriae PETERS , 1871

Draco volans

กิ้งก่าบินหัวฟ้า

Draco volans LINNAEUS ,1758

Draco taeniopterus


กิ้งก่าบินปีกลาย

Draco taeniopterus GÜNTHER , 1861

กิ้งก่าบินขนาดกลาง เหนียงใต้คางมีสีเหลืองส้ม ปีกมีลายสีคล้ำสลับสีส้มเหลือง ตัวมีลายคล้ายเปลือกไม้
อาศํยในป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา และสามารถพบได้ในป่าสวนยาง หรือ พื้นที่บุกรุกใกล้ป่า กินแมลงขนาดเล็ก เช่น มด เป็นอาหาร วางไข่คราวละ 4 ฟอง พบได้ทุกภาค



ลักษณะลายที่ปีก และ ส่วนหัวของกิ้งก่าบินปีกลาย(ดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่)














































Draco haematopogon

กิ้งก่าบินปีกแดง

Draco haematopogon GRAY, 1831

Draco maculatus

กิ้งก่าบินปีกจุดDraco maculatus spp. GRAY, 1845
กิ้งก่าบินขนาดเล็ก มีหลายชนิดย่อยแตกต่างกันออกไป ปีกมีสีแดงส้มปีกด้านล่างมีจุดกลมใหญ่ 2-3 จุด เหนียงใต้คางมีสีเหลือง ตามตัวมีลายคล้ายลายเปลือกไม้ พบได้ในป่าดิบเขา ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง และป่าบุกรุก กินมด และ แมลงขนาดเล็กที่เกาะตามเปลือกไม้เป็นอาหาร วางไข่ครั้งละ 3-5 ฟอง พบได้ทุกภาค

ลักษณะเหนียงใต้คาง และ แผ่นปีกของกิ้งก่าบินปีกจุดจันทบูรณ์ (Draco maculatus haasei)ตัวผู้ (เขาใหญ่ นครราชสีมา)














กิ้งก่าบินปีกจุดดอยสุเทพ(Draco maculatus divergens)ตัวผู้ จากดอยสุเทพ จ. เชียงใหม่
















กิ้งก่าบินปีกจุดไหหลำ(Draco maculatus whiteheadi)ตัวเมีย จาก ดอยสุเทพ เชียงใหม่
















กิ้งก่าบินปีกจุดใต้ (Draco maculatus maculatus) จาก จ.พัทลุง






















Draco obscurus

กิ้งก่าบินมลายู

Draco obscurus BOULENGER , 1887

Draco quinquefasciatus

กิ้งก่าบินปีกห้าแถบ

Draco quinquefasciatus HARDWICKE & GRAY, 1827

Draco melanopogon

กิ้งก่าบินคอดำ

Draco melanopogon BOULENGER , 1887

Draco fimbriatus

กิ้งก่าบินคอส้ม

Draco fimbriatus KUHL , 1820

Draco blanfordii


กิ้งก่าบินคอแดง

Draco blanfordii BLANFORD , 1878

กิ้งก่าบินขนาดใหญ่มาก มักพบในป่าดิบชื้นที่ราบ หรือ ป่าดิบเขาระดับกลาง เหนียงมีสีเหลืองอ่อน มีประสีดำบนพื้นสีแดงสด ปีกมีลายบั้งสีเข้มสลับกับสีส้มเหลือง ลำตัวสีเขียวปนเทา กินปลวกต้นไม้ หนอนขนาดเล็ก มดไม้ยักษ์ ตัวเมียวางไข่ในพื้นทราย หรือจอมปลวกบนต้นไม้ หรือโพรงไม้ ไข่คราวละ 5-6 ฟอง พบทางภาคเหนือลงมาจนถึงภาคใต้ตอนล่าง






Calotes emma emma


กิ้งก่าแก้วใต้

Calotes emma emma GRAY, 1845

กิ้งก่าขนาดกลาง มีความแตกต่างกับกิ้งก่าแก้วเหนือตรงเกล็ดมีขนาดใหญ่ และเป็นสัน เขาตรงหลังตาและท้ายทอยมีขนาดใหญ่ ยาวกว่าชัดเจน ตัวผู้ในช่วงฤดูผสมพันธุ์มีหัวสีส้มแดง หน้ามีแถบสีดำ สลับกับขีดสีขาวลากไปจนถึงโคนหาง ตัวเมียสีเขียว พบได้ในป่าดิบชื้น ป่าสวนยาง และพื้นที่เกษตรกรรม กินแมลงขนาดเล็ก พบกระจายทางภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดประจวบลงไปจนถึงมาเลเซีย วางไข่ครั้งละ 10-12 ฟอง

ลักษณะเกล็ดตัวและหัวของกิ้งก่าแก้วใต้ตัวเมียเต็มวัย(กาญจนดิษ สุราษ)



Calotes emma alticristatus


กิ้งก่าแก้วเหนือ
Calotes emma alticristatus SCHMIDT, 1925

มีความแตกต่างกับกิ้งก่าแก้วใต้ตรงเกล็ด เกล็ดของชนิดย่อยนี้จะมีขนาดเล็ก และเป็นสันน้อยกว่า เมื่อเทียบกับชนิดทางใต้ และเขาจะมีขนาดเล็กกว่าด้วย มีขนาดตัวใหญ่กว่าชนิดทางใต้ พบอาศัยในป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง และพบได้ในป่าบุกรุกอีกด้วย กินแมลงเป็นอาหาร ตัวผู้จะมีสีส้มแดงและมีขึดสีขาวสลับกับสีดำบริเวณหน้า วางไข่คราวละ 10-12 ฟอง ลูกแรกเกิดมีสีน้ำตาลอ่อน และจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีเขียว พบได้ทุกภาค ยกเว้นตั้งแต่จังหวัดประจวบลงไป ซึ่งจะเป็นชนิดทางใต้


ลักษณะเกล็ดและเขาที่มีขนาดเล็กของกิ้งก่าตัวเมียเต็มวัย และกิ้งก่าวัยอ่อน(เขาหินปูน สระบุรี)































Calotes mystaceus


กิ้งก่าหัวฟ้า

Calotes mystaceus DUMÉRIL & BIBRON ,1837

จัดเป็นกิ้งก่าขนาดใหญ่ คล้ายคลึงกับกิ้งก่าหัวแดง แต่บริเวณท้ายทอยมีหนามเล็กๆยื่นออกมา 2 คู่ ในตัวเต็มวัย มีสีสันสวยงามมาก พื้นลำตัวสีน้ำตาลเข้มไล่ลงมาอ่อน ตัดกับจุดกลมสีครีม 3 จุด บริเวณข้างลำตัว ตั้งแต่หัวไล่ลงมาจนหลังมีสีฟ้าเข้มแกมเขียว หน้ามีคาดสีขาว เป็นสัตว์ที่มีอาณาเขต ต้นไม้หนึ่งต้นที่พบ อาจพบมีมากกว่า 1 ตัว โดยจะมีตัวผู้ ปกครอง อยู่เสมอ ถิ่นอาศัยค่อนข้างแตกต่างกับกิ้งก่าคอแดง กิ้งก่าวัยอ่อนมักอาศัยอยู่ตามโคนต้นไม้เล็กๆ หรือตามพุ่มไม้ ตัวเต็มวัยมักเกาะหากินตามลำต้นไม้ขนาดใหญ่ หรือ ระดับเรือนยอด โดยวิ่งกินแมลงขนาดใหญ่ตามเปลือกไม้ หรือ พื้น ได้ดี เช่น มด ด้วง แมลงสาบ กิ้งก่าวัยอ่อนชอบกิน ตัวอ่อนด้วง และ แมลงสาบป่า ขนาดเล็ก ช่วงฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะปกป้องอาณาเขตต้นไม้และตัวเมียอย่างดุร้าย ขุดหลุมวางไข่ครั้งละ 7-8 ฟอง มักพบในป่าที่ค่อนข้างแห้ง หรือ ตามต้นไม้ริมถนน พบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ตอนล่าง



















ลักษณะโครงสร้างหัวของกิ้งก่าคอฟ้า วัยเด็ก และ ตัวผู้เต็มวัย จากกทม.




















Calotes versicolor


กิ้งก่าคอแดง , กิ้งก่าสวน

Calotes versicolor DAUDIN ,1802

กิ้งก่าขนาดกลาง ในตัวผู้มีสีสันสะดุดตามาก โดยตั้งแต่คอถึงช่วงกลางลำตัวจะมีสีแดงสด ใต้คางมีปื้นสีดำรูปสามเหลี่ยม สีแดงเข้มสดนี้เอง เป็นที่มาของชื่ออีกชื่อหนึ่งของมันคือ " Blood sucker " สามารถเปลี่ยนสีได้รวดเร็ว เวลาตกใจมักเป็นลายบั้งตามตัว ลงมาจนถึงหาง มีอาณาเขตเป็นของตัวเอง กินแมลงขนาดเล็ก เช่น ตั๊กแตนที่อยู่ตามทุ่งหญ้า และ หนอนผีเสื้อ วางไข่คราวละ 4-12 ฟอง ลูกวัยอ่อนมักอาศัยเลี้ยงตัวเอง ในพุ่มไม้เตี้ย ตัวเต็มวัยมักอยู่ตามเรือนยอด หรือโคนต้น อาศัยเกาะหากินตามต้นไม้ที่ไม่ใหญ่มากนัก หรือมีลักษณะเป็นพุ่ม พบได้หลากหลายพื้นที่อาศัย เช่น ป่าทุ่งหญ้า ทุ่งหญ้าน้ำขัง และ สวนใกล้บ้าน จัดเป็นกิ้งก่าที่พบได้บ่อยที่สุด และยังเป็นอาหารของชาวบ้านบางที่อีกด้วย พบแพร่กระจายทุกภาค
















Bronchocela smaragdina





กิ้งก่าเขียวจันทบูรณ์

Bronchocela smaragdina GUNTHER, 1864

กิ้งก่าขนาดกลาง ทรงหัวค่อนข้างยาว แขนขายาว หางมีความยาวมากกว่าลำตัว 2 เท่า ตัวมีสีเขียวตลอด และอาจมีจุดประสีขาวขึ้นตามตัว หางสีน้ำตาลส้ม สามารถเปลี่ยนสีตัวจากสีเขียว เป็นสีน้ำตาลได้อย่างรวดเร็ว อาศัยบนต้นไม้สูง ตามเรือนยอดในป่าดิบชื้น ออกหากินเวลากลางวัน กินแมลงขนาดเล็ก ที่อยู่ตามเปลือกไม้ เช่น ผีเสื้อ เป็นอาหาร หางยาวทรงตัวตามต้นไม้ได้ดี ไม่ค่อยชอบลงพื้นมากนัก วางไข่ครั้งละ 2 ฟอง ไข่เป็นกระสวยเกลียว พบเฉพาะทางภาคตะวันออก และอิสานตอนกลาง เลยไปในเขมร และ เวียดนาม


















ตัวเมียเต็มวัยจาก เขาสอยดาว จันทบุรี

















Bronchocela cristatella


กิ้งก่าเขียวหูดำ
Bronchocela cristatella KUHL, 1820

กิ้งก่าเขียวขนาดกลาง ขอบตามีสีดำ แผ่นหูสีดำ ลำตัวมีสีเขียวเข้มตลอดทั้งตัว มีจุดสีขาวประเป็นลายบั้งตามลำตัว หางมีสีน้ำตาลแดง มีบั้งสีคล้ำตลอดจนถึงหาง เมื่อเวลาตกใจ สามารถเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือดำได้รวดเร็ว พบในป่าบุกรุก พื้นที่เกษตรกรรมใกล้ป่า ป่าดิบชื้น หากินเวลากลางวันบนเรือนยอดสูง กินแมลงขนาดเล็กตามใบไม้ ผีเสื้อ และ อาจกินกิ้งก่าที่เล็กกว่าด้วย เวลาตกใจมักจะวิ่งลงน้ำลงไปซ่อนตัวใต้น้ำ พบทางภาคใต้ตอนล่างลงไปจนถึงมาเลเซีย


















Bronchocela burmana

กิ้งก่าเขียวตะนาวศรี

Bronchocela burmana BLANFORD ,1878 (cf. cristatella)

Aphaniotis fusca

กิ้งก่าพระอินทร์

Aphaniotis fusca PETER, 1864

Acanthosaura cardamomensis


กิ้งก่าเขาหนามยาวจันทบูร

Acanthosaura cardamomensis Wood et al., 2010

กิ้งก่าเขาขนาดใหญ่ ตัวมีสีเขียวอมน้ำตาลอ่อน มีจุดสีเหลืองและสีดำประกระจายตามลำตัว หนามที่ส่วนหัวและช่วงคอมีขนาดใหญ่ ยาว ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย หากินตามพื้น เวลานอนมักจะขึ้นไปนอนตามกิ่งไม้ หรือ เถาวัลย์ที่ค่อนข้างสูง อาศัยตามป่าดิบชื้นใกล้น้ำตก วางไข่คราวละ 10-12 ฟอง ตัวเมียที่มีขนาดใหญ่อาจวางไข่ได้ถึง 20-23 ฟอง ลูกวัยอ่อนมีสีน้ำตาลแดง พบกระจายทางภาคอิสานและทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ และบนเกาะช้างที่จ.ตราด








Acanthosaura lepidogaster



กิ้งก่าเขาหนามเล็ก

Acanthosaura lepidogaster CUVIER , 1829

กิ้งก่าเขาขนาดเล็ก เขามีลักษณะสั้นกว่าชนิดอื่นมาก หนามขนาดเล็ก สีตัวผูและตัวเมียต่างกัน โดยตัวผู้จะมีพื้นตัวสีเขียวสด สลับกับลายบั้งหรือจุดสีดำตามตัว คอสีขาว มีปื้นสีดำ บริเวณท้ายทอย และหน้าคลุมเหมือนสวมหน้ากาก ขอบปากมีสีแดงสด ส่วนตัวเมียสีน้ำตาลตุ่น หรือ สีน้ำตาลแดงสด อาศัยตามพื้นป่า ใต้กองใบไม้ หรือ ตามพุ่มไม้ขนาดเล็ก กินแมลงขนาดเล็ก ลูกกิ้งก่า ไส้เดือน พบได้ในป่าดิบเขา ความสูงตั้งแต่ 800 เมตรขึ้นไป พบทางภาคเหนือ และภาคกลางบางส่วน
































สีสันระหว่างตัวผู้และตัวเมีย (ดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่)