Agaminae and sub family
Leiolepis reevesii
Leiolepis reevesii GRAY , 1831
Pseudocalotes khaonanensis
Pseudocalotes khaonanensis CHAN-ARD, COTA, MAKCHAI & LAOTEOW , 2008
Pseudocalotes microlepis
Pseudocalotes microlepis BOULENGER , 1888
กิ้งก่าขนาดเล็ก ส่วนหัวมีลักษณะยาวคล้ายกับกิ้งก่าในสกุล Bronchocela แต่ต่างกันตรงไม่มีเกล็ดเป็นสันบริเวณเหนือแผ่นหู และขายาวกว่า กิ้งก่าชนิดนี้มีขาค่อนข้างสั้น หางยาวและปลายหางม้วนงอได้ จึงทรงตัวได้ดีบนต้นไม้มากกว่าบนพื้น เวลาเคลื่อนที่จะใช้ขาไต่ไปตามกิ่งไม้และใช้หางม้วนไว้ด้วย เหนียงมีสีเขียวและมีจุดสีม่วงแดงสดตรงกลาง ตัวผู้มีสีดำลายพาดสีครีมสลับเป็นบั้ง กินแมลงขนาดเล็กตามกิ่งไม้ เถาวัลย์ เช่น หนอน ผีเสื้อ ด้วงปีกแข็งขนาดเล็ก พบเห็นตัวค่อนข้างยาก เพราะมีขนาดเล็กและเกาะนอนค่อนข้างสูง อาศัยในป่าดิบเขาที่ความสูงระดับ 1000 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป พบทางภาคเหนือ อิสานตอนบน
ด้านบนและหัวถึงหางของกิ้งก่าตัวผู้เต็มวัย
Physignathus cocincinus
Draco taeniopterus
Draco taeniopterus GÜNTHER , 1861
อาศํยในป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา และสามารถพบได้ในป่าสวนยาง หรือ พื้นที่บุกรุกใกล้ป่า กินแมลงขนาดเล็ก เช่น มด เป็นอาหาร วางไข่คราวละ 4 ฟอง พบได้ทุกภาค
Draco maculatus
Draco blanfordii
Draco blanfordii BLANFORD , 1878
กิ้งก่าบินขนาดใหญ่มาก มักพบในป่าดิบชื้นที่ราบ หรือ ป่าดิบเขาระดับกลาง เหนียงมีสีเหลืองอ่อน มีประสีดำบนพื้นสีแดงสด ปีกมีลายบั้งสีเข้มสลับกับสีส้มเหลือง ลำตัวสีเขียวปนเทา กินปลวกต้นไม้ หนอนขนาดเล็ก มดไม้ยักษ์ ตัวเมียวางไข่ในพื้นทราย หรือจอมปลวกบนต้นไม้ หรือโพรงไม้ ไข่คราวละ 5-6 ฟอง พบทางภาคเหนือลงมาจนถึงภาคใต้ตอนล่าง
Calotes emma emma
Calotes emma emma GRAY, 1845
ลักษณะเกล็ดตัวและหัวของกิ้งก่าแก้วใต้ตัวเมียเต็มวัย(กาญจนดิษ สุราษ)
Calotes emma alticristatus
ลักษณะเกล็ดและเขาที่มีขนาดเล็กของกิ้งก่าตัวเมียเต็มวัย และกิ้งก่าวัยอ่อน(เขาหินปูน สระบุรี)
Calotes mystaceus
Calotes mystaceus DUMÉRIL & BIBRON ,1837
จัดเป็นกิ้งก่าขนาดใหญ่ คล้ายคลึงกับกิ้งก่าหัวแดง แต่บริเวณท้ายทอยมีหนามเล็กๆยื่นออกมา 2 คู่ ในตัวเต็มวัย มีสีสันสวยงามมาก พื้นลำตัวสีน้ำตาลเข้มไล่ลงมาอ่อน ตัดกับจุดกลมสีครีม 3 จุด บริเวณข้างลำตัว ตั้งแต่หัวไล่ลงมาจนหลังมีสีฟ้าเข้มแกมเขียว หน้ามีคาดสีขาว เป็นสัตว์ที่มีอาณาเขต ต้นไม้หนึ่งต้นที่พบ อาจพบมีมากกว่า 1 ตัว โดยจะมีตัวผู้ ปกครอง อยู่เสมอ ถิ่นอาศัยค่อนข้างแตกต่างกับกิ้งก่าคอแดง กิ้งก่าวัยอ่อนมักอาศัยอยู่ตามโคนต้นไม้เล็กๆ หรือตามพุ่มไม้ ตัวเต็มวัยมักเกาะหากินตามลำต้นไม้ขนาดใหญ่ หรือ ระดับเรือนยอด โดยวิ่งกินแมลงขนาดใหญ่ตามเปลือกไม้ หรือ พื้น ได้ดี เช่น มด ด้วง แมลงสาบ กิ้งก่าวัยอ่อนชอบกิน ตัวอ่อนด้วง และ แมลงสาบป่า ขนาดเล็ก ช่วงฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะปกป้องอาณาเขตต้นไม้และตัวเมียอย่างดุร้าย ขุดหลุมวางไข่ครั้งละ 7-8 ฟอง มักพบในป่าที่ค่อนข้างแห้ง หรือ ตามต้นไม้ริมถนน พบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ตอนล่าง
ลักษณะโครงสร้างหัวของกิ้งก่าคอฟ้า วัยเด็ก และ ตัวผู้เต็มวัย จากกทม.
Calotes versicolor
Calotes versicolor DAUDIN ,1802
กิ้งก่าขนาดกลาง ในตัวผู้มีสีสันสะดุดตามาก โดยตั้งแต่คอถึงช่วงกลางลำตัวจะมีสีแดงสด ใต้คางมีปื้นสีดำรูปสามเหลี่ยม สีแดงเข้มสดนี้เอง เป็นที่มาของชื่ออีกชื่อหนึ่งของมันคือ " Blood sucker " สามารถเปลี่ยนสีได้รวดเร็ว เวลาตกใจมักเป็นลายบั้งตามตัว ลงมาจนถึงหาง มีอาณาเขตเป็นของตัวเอง กินแมลงขนาดเล็ก เช่น ตั๊กแตนที่อยู่ตามทุ่งหญ้า และ หนอนผีเสื้อ วางไข่คราวละ 4-12 ฟอง ลูกวัยอ่อนมักอาศัยเลี้ยงตัวเอง ในพุ่มไม้เตี้ย ตัวเต็มวัยมักอยู่ตามเรือนยอด หรือโคนต้น อาศัยเกาะหากินตามต้นไม้ที่ไม่ใหญ่มากนัก หรือมีลักษณะเป็นพุ่ม พบได้หลากหลายพื้นที่อาศัย เช่น ป่าทุ่งหญ้า ทุ่งหญ้าน้ำขัง และ สวนใกล้บ้าน จัดเป็นกิ้งก่าที่พบได้บ่อยที่สุด และยังเป็นอาหารของชาวบ้านบางที่อีกด้วย พบแพร่กระจายทุกภาค
Bronchocela smaragdina
กิ้งก่าเขียวจันทบูรณ์
Bronchocela smaragdina GUNTHER, 1864
กิ้งก่าขนาดกลาง ทรงหัวค่อนข้างยาว แขนขายาว หางมีความยาวมากกว่าลำตัว 2 เท่า ตัวมีสีเขียวตลอด และอาจมีจุดประสีขาวขึ้นตามตัว หางสีน้ำตาลส้ม สามารถเปลี่ยนสีตัวจากสีเขียว เป็นสีน้ำตาลได้อย่างรวดเร็ว อาศัยบนต้นไม้สูง ตามเรือนยอดในป่าดิบชื้น ออกหากินเวลากลางวัน กินแมลงขนาดเล็ก ที่อยู่ตามเปลือกไม้ เช่น ผีเสื้อ เป็นอาหาร หางยาวทรงตัวตามต้นไม้ได้ดี ไม่ค่อยชอบลงพื้นมากนัก วางไข่ครั้งละ 2 ฟอง ไข่เป็นกระสวยเกลียว พบเฉพาะทางภาคตะวันออก และอิสานตอนกลาง เลยไปในเขมร และ เวียดนาม
ตัวเมียเต็มวัยจาก เขาสอยดาว จันทบุรี
Bronchocela cristatella
Bronchocela cristatella KUHL, 1820
Acanthosaura cardamomensis
Acanthosaura cardamomensis Wood et al., 2010
Acanthosaura lepidogaster
Acanthosaura lepidogaster CUVIER , 1829